องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2023-01-20

การคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการปิ้งย่างโดย AirBeam.

ผู้แต่ง : อรวรรณพร บุญล้อม

วันที่เอกสารถูกเผยแพร่ครั้งแรก | 2023-01-20

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาข้อมูลเชิงพื้นที่ของร้านปิ้งย่าง พร้อมรายละเอียดเฉพาะ (Specific Details) ของ 6 ชุมชน ได้แก่ ปัจฉิมทัศน์1, 2 ธัญญา 1, 2 และ 3 และสามัคคี1 และเพื่อประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เบื้องต้น จากกิจกรรมการปิ้งย่าง โดยอาศัยการสำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์ข้อมูล และการประยุกต์ใช้เทคนิคด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ การศึกษา พบว่า มี 11 ร้านปิ้งย่าง โดยเปิดให้บริการ ตั้งแต่ 04:00- 20:00 น. ส่วนใหญ่ ให้บริการทุกวัน ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ไก่ หมู และปลา และเชื้อเพลิงที่ใช้ คือ ถ่าน ทั้งนี้ ช่วงเวลา 07:00 และ 12:00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีการจำหน่ายสูงสุด และจากการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจาก PM2.5 ของ 7 ร้าน ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีการพักอาศัยหนาแน่น ร่วมกับการใช้ข้อมูลตรวจวัด PM2.5 โดย AirBeam (เฉพาะช่วงเวลาที่มีการปิ้งย่าง) พบว่า ทุกร้าน มีค่าสัดส่วนความเสี่ยง (HQ) อยู่ในค่าที่ยอมรับได้ต่อการรับสัมผัส PM2.5 อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัส PM2.5 โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ย่านที่มีการการประกอบกิจกรรมปิ้งย่างหนาแน่น โดยการศึกษานี้ ได้พัฒนาข้อเสนอแนะ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดจาก PM2.5 จากกิจกรรมปิ้งย่างด้วย

อ้างอิง : อรวรรณพร บุญล้อม. การคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการปิ้งย่างโดย AirBeam. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2561.

หมายเหตุ :

Follow Us











© DUST INFORMATION. All Rights Reserved. Design by HTML Codex