องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง 2023-01-20

ฐานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศและการผันแปรเชิงพื้นที่เวลา กรณีจังหวัด มหาสารคาม

ผู้แต่ง : ชฎาพร มัจฉาชาติและสมฤดี เกษแก้ว

วันที่เอกสารถูกเผยแพร่ครั้งแรก | 2023-01-20

งานวิจัยนี้ ได้พัฒนาบัญชีการปลดปล่อยสารมลพิษทางอากาศของจังหวัดมหาสารคาม จากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม (การเผาไหม้และกระบวนการผลิต) โรงไฟฟ้า ยานพาหนะ (เชื้อเพลิงดั้งเดิมและทางเลือก) และที่พักอาศัยและย่านการค้า (การใช้ปิโตรเลียมเหลวในครัวเรือนและสถานีเติมน้ำมัน) โดยได้พิจารณาปี 2555 เป็นฐานในการประมาณค่าการปลดปล่อย ซึ่งชนิดของมลพิษทางอากาศ ครอบคลุมกลุ่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่ PM10 PM2.5 NO2 และ CO และที่เกี่ยวกับการเกิดโอโซนผิวพื้น ได้แก่ CO NMVOC และ NOx และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ได้แก่ CO2 และ CH4 จากการคำนวณปริมาณการปลดปล่อยสารมลพิษ พบว่า ในบรรดาแหล่งกำเนิดทั้งหมด ยานพาหนะ เป็นแหล่งกำเนิดหลัก รองลงมา คือ โรงงานอุตสาหกรรม โดยยานพาหนะนั้น ปลดปล่อย NOx (as NO2) NMVOC CO PM10 PM2.5 และ CO2 เท่ากับ 7,719 1,044 8,015 507,414 และ 1,413,492 ตัน/ปี ตามลำดับ ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรม ปลดปล่อย NOx (as NO2) NMVOC CO PM10 PM2.5 CO2 และ CH4 เท่ากับ 112 4,501 4,051 0.06 0.04 1,188,648 และ 32 ตัน/ปี ตามลำดับ เมื่อพิจารณาแต่ละสารมลพิษทางอากาศ พบว่า CO2 มีการปลดปล่อยสูงที่สุดจากยานพาหนะ โดยโรงงานอุตสาหกรรมและที่พักอาศัยและย่านการค้านั้น มีค่าการปลดปล่อยที่ใกล้เคียงกัน ในขณะที่ฝุ่นละออง (PM) ส่วนใหญ่มาจากยานพาหนะ รองลงมา คือ ที่พักอาศัยและย่านการค้า ในส่วนของการกระจายเชิงพื้นที่ พบว่า มลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกมลสารและจากโรงไฟฟ้าทุกมลสาร มีค่าการปลดปล่อยมากที่สุด ใน ต.แก้งแก อ.โกสุมพิสัย และจากยานพาหนะทุกมลสารใน ต.ท่าสองคอน อ.เมือง ซึ่งมีถนนสายหลักที่เชื่อมระหว่างจังหวัดขอนแก่น สำหรับที่พักอาศัยและย่านการค้านั้น พบว่า การปลดปล่อย NMVOC จากสถานีบริการน้ำมันสูงที่สุด ใน ต.กุดปลาดุก อ.ชื่นชม และการปลดปล่อยของทุกสารมลพิษจากการใช้ LPG ในครัวเรือน สูงที่สุด ใน ต.ตลาด อ.เมือง นอกจากนี้ งานวิจัยนี้ ได้พัฒนารูปแบบการผันแปรเชิงเวลาเบื้องต้นของสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาคุณภาพอากาศในจังหวัดนี้ในอนาคต

อ้างอิง : ชฎาพร มัจฉาชาติและสมฤดี เกษแก้ว. ฐานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศและการผันแปรเชิงพื้นที่เวลา. กรณีจังหวัด มหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558.

หมายเหตุ :

Follow Us











© DUST INFORMATION. All Rights Reserved. Design by HTML Codex