DUSTINFORMATION


ประเภทของฝุ่นละออง

การจำแนกประเภทของฝุ่นละอองในอากาศ หากพิจารณาจากลักษณะของการเกิดของฝุ่นละออง ประกอบด้วย 1)ฝุ่นปฐมภูมิ ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยของแหล่งกำเนิดโดยตรง เช่น ฝุ่นจากถนน ฝุ่นเกลือจากทะเล ฝุ่นจากการกระแสลมที่พัดผ่าน ฝุ่นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง เขม่า ควันไฟ 2)ฝุ่นทุติยภูมิเกิดจากปฏิกิริยาต่างๆ ในบรรยากาศหลังจากที่ฝุ่นถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิดได้ระยะหนึ่ง ฝุ่นประเภท นี้อาจเป็นอนุภาคใหม่หรือเป็นอนุภาคเดิมที่มีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นการจำแนกตามขนาดได้คือ ฝุ่นรวมซึ่งเป็นฝุ่นขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 100 ไมครอน ส่วนฝุ่นขนาดเล็ก (PM10) หมายถึง ฝุ่นที่มี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอนลงมา (PM10) และฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นแต่ละขนาดมีแหล่งกำเนิด

ฝุ่นรวม มีลักษณะเป็นอนุภาคของแข็งและกึ่งของแข็งพบในอากาศที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.005-100 ไมครอนฝุ่นรวมเกิดจากกิจกรรมด้าน อุตสาหกรรมการเผาไหม้ทั้งที่อยู่ในรูปอนุภาคของแข็ง เช่น ฝุ่นละอองจากวัตถุดิบ เขม่าควัน เป็นต้นอนุภาคของเหลวในรูปละอองไอในอากาศ เช่น ละอองในกรดหรือละอองไอของสารเคมีต่างๆ เป็นต้น ฝุ่นรวมอาจเกิดจากกิจกรรมทั่วไปที่ไม่มีการเผาไหม้ เช่น ฝุ่นจากการท้าเหมือง ฝุ่นจากการก่อสร้าง เป็นต้น

ลักษณะของฝุ่น PM10

PM10 มีลักษณะเป็นอนุภาคของแข็งกึ่ง ของแข็งขนาดเล็กได้แก่ ฝุ่น ควัน และเขม่า ประกอบด้วยมลสารหลายชนิดผสมผสานกันและมีองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกัน PM10 เกิดจากแหล่งกำเนิดหลายชนิดโดย PM10 ที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่นดิน ฝุ่นละออง ไอของทะเล ฝุ่นละอองที่เกิดในอาคาร เป็นต้น กระบวนการที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง เช่น โรงโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ PM10 จากแหล่งกำเนิดเหล่านี้จะมีปริมาณคาร์บอนสูงซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีบทบาทต่อร่างกายที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เมื่อได้รับ PM10 ทางการหายใจและสามารถผ่านเข้าสู่ระบบ ทางเดินหายใจส่วนลึกได้ทำให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ลักษณะของฝุ่น PM2.5

PM2.5 เป็นอนุภาคของแข็งหรือกึ่งของแข็งที่อยู่ในสภาพกึ่งระเหยประกอบด้วยอนุภาคส่วนละเอียดปฐมภูมิและอนุภาคส่วนละเอียดทุติยภูมิผสมกันอยู่แต่ส่วนใหญ่ PM2.5 จะเป็นอนุภาคทุติยภูมิที่เกิดขึ้นในอากาศ เมื่อแก๊สต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารประกอบอินทรีย์ระเหย ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถูกเปลี่ยนรูปในอากาศมีช่วงเวลาที่อยู่ในอากาศเป็นระยะเวลายาวนานเป็นวันหรือสัปดาห์ และสามารถเคลื่อนที่ไปได้ระยะไกล 100-1,000 กิโลเมตร

ที่มา :
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ปี 2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: มปท. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2564. จาก. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/825

วสันต์ มาพริก เจษฎา วงษ์มาก และศุลีพร โลหะเวช.และคณ. ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM10) จาก การก่อสร้างอาคาร [โครงงานวิศวกรรมโยธาปริญญาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2557.

Follow Us











© DUST INFORMATION. All Rights Reserved. Design by HTML Codex