DUSTINFORMATION


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฝุ่นละออง

ฝุ่นละออง เป็นสารที่มีความหลากหลายทางด้านกายภาพเป็นอนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศหรือเป็นของเหลวก็ได้ซึ่งเกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด กระแทก จนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆเมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวกระจายตัวอยู่ในอากาศและตกลงสู่พื้นซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาคฝุ่น ฝุ่นละอองที่มีอยู่ในบรรยากาศรอบๆตัวเรามีขนาดตั้งแต่ 0.002 ไมครอน ไปถึงฝุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่า 500 ไมครอน ฝุ่นละอองสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กและฝุ่นละอองขนาดใหญ่ฝุ่นละอองที่แขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็ก(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 10 ไมครอน)แต่ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กโดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 ไมครอน อาจแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นานเป็นปีส่วนฝุ่นละอองขนาดใหญ่(ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 100 ไมครอน)สามารถแขวนลอยอยู่ในอากาศได้เพียง 2-3 นาที

ฝุ่นละอองในบรรยากาศ เป็นมลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดเมืองใหญ่ๆส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยฝุ่นละอองในบรรยากาศอาจแยกเป็นฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายสู่บรรยากาศจากแหล่งกำเนิดโดยตรง ฝุ่นละอองซึ่งเกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น การรวมตัวด้วยปฏิกิริยาทางฟิสิกส์ ปฏิกิริยาทางเคมี หรือปฏิกิริยาเคมีแสงฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะมี ชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการรวมตัวของฝุ่นละออง เช่น ควัน ฟูม หมอก น้ำค้าง เป็นต้น ฝุ่นละอองที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ฝุ่น ดิน ทราย หรือเกิดจากควันดำจากท่อไอเสียรถยนต์จากการจราจร การอุตสาหกรรม ฝุ่นที่ถูกสูดเข้าไปในระบบทางเดินหายใจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพฝุ่นละอองที่มีสารตะกั่วและสารประกอบโบไมด์สูงกว่าบริเวณนอกเมืองโดยประมาณเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนฝุ่นประเภทนี้เกิดจากรถประจำทางและรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลบางส่วนมาจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนมากจะพบอยู่ในเขตเมือง เขตอุตสาหกรรม และเขตกึ่งชนบท หากพบในปริมาณที่ส่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย เนื่องจากมีขนาดเล็กพอที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจเป็นผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคืองและทำลายเยื่อหุ้มปอด หากได้รับในปริมาณมากและเป็นเวลานาน จะสะสมทำให้เกิดพังผืดและเป็นแผลได้ ส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง ความรุนแรงขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบของฝุ่นละอองนั้นฝุ่นประเภทนี้ไม่มีผลต่อสุขภาพอนามัยมากนักเพียงแต่จะ ก่อให้เกิดการระคายเคือง ต่อทางเดินหายใจ

ที่มา :
กรมควบคุมมลพิษ. 2553. กำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ในบรรยากาศทั่วไป. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2562. จาก. http://infofile.pcd.go.th/law/2_99_air.pdf?CFID=17460 708&CFTOKEN=63440791

กรมควบคุมมลพิษ. 2563. ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ. กองจัดการคุณอากาศและเสียง. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2563. จาก. http://air4thai.pcd.go.th/webV2/aqi_info.php#index_aqi_table

กรมควบคุมมลพิษ. 2556. สถานการณ์และการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ปี 2555. กรุงเทพมหานคร.

กรมอนามัยและกรมควบคุมโรค. 2558. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่น ละอองขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562. จาก. http://enhealthplan.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=24

Follow Us











© DUST INFORMATION. All Rights Reserved. Design by HTML Codex