DUSTINFORMATION


ผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละออง

ความแตกต่างระหว่างฝุ่นขนาดใหญ่และฝุ่นขนาดเล็ก
ประเด็น ฝุ่นขนาดใหญ่ ฝุ่นขนาดเล็ก
แหล่งที่มา
  • การฟุ้งกระจายของฝุ่นดินบนถนน
  • การฟุ้งของฝุ่นดินที่เกิดจากการทำ
  • เศษสิ่งมีชีวิต
  • การเผาไหม้ของถ่านหินและน้ำมัน
  • ทะเลและมหาสมุทร
  • การเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมันเศษไม้
  • การเปลี่ยนสภาพของก๊าซไนโตรเจนออกไซต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซต์ และสารประกอบอินทรีย์ในบรรยากาศ
  • กระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงเตาหลอมโรงบดเหล็ก เป็นต้น
  • กระบวนการ
  • ถูกบด กระแทก
  • การระเหยของก๊าซบางชนิด
  • การแขวนลอยของผงฝุ่น
  • กระบวนการทางเคมี/การกลายเป็นไอ
  • Nucleation,Condensation และ Coagulation
  • การระเหยของหมอก และหยดน้ำในก้อนเมฆซึ่งมีก๊าซละลายและเกิดปฏิกิริยา
  • องค์ประกอบหลัก
  • ผงฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย
  • ขี้เถ้าลอยจากถ่านหินและน้ำมัน
  • ออกไซด์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเปลือกโลก
  • CaCO3,NaC1 ฝุ่นจากเกลือทะเล
  • เกสรดอกไม้
  • ฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์
  • ซัลเฟต(SO4)
  • ไนเตรท(NO3)
  • แอมโมเนีย(NH4+)
  • ไฮโดรเจนอิออน(H)
  • ธาตุคาร์บอน(C)
  • คาร์บอนอินทรีย์
  • โลหะ(Pb,Cd,Ni,Cu และ Zn)
  • ละอองน้ำที่จับตัวกับฝุ่น

  • ฝุ่นละอองขนาดเล็ก(Particulate Matter หรือ PM)มีอยู่ 2 ขนาด คือฝุ่นละอองนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน(PM10) และฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน(PM2.5)ฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าไปในทางเดินหายใจได้ลึก โดยระบบทางเดินหายใจ เช่น ขนจมูกไม่สามารถที่จะกรองเพื่อไม่ให้เข้าไปในส่วนลึกของระบบทางเดินหายใจได้จึงมีอันตรายมากกว่าฝุ่นละอองขนาดใหญ่ โดยมีผลต่อระบบทางเดินหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดไม่มากก็น้อยสำหรับประชาชนที่สูดดมเข้าไป โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก และคนชรา ที่มีโรคของระบบทางเดนหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้และโรค หอบหืด เป็นต้น ยังไม่สามารถหาได้ว่าปริมาณที่ไม่เกินเท่าไรถึงปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อหาขนาดของฝุ่นละอองขนาดเล็กว่าปริมาณน้อยสุดมีผลกระทบต่อสุขภาพเท่าไร พบว่า ปริมาณของ PM2.5 ปริมาณที่มากกว่า 3-5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรสามารถมีผลต่อสุขภาพปริมาณของฝุ่นละอองขนาดเล็ก และความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพนั้นมีความแตกต่างกันเป็นการยากที่จะกำหนดมาตรฐานค่าใดค่าหนึ่งที่จะสามารถคุ้มครองประชาชนทุกคนให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน และฝุ่นละอองขนาด 2.6-9.9 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิดจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้าง ฝุ่นละอองบนท้องถนนและการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งสัดส่วนของ PM2.5 และ PM10 แตกต่างกันไป แล้วแต่พื้นที่โดยในเขตเมืองฝุ่นละอองขนาดเล็ก เหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ


    ที่มา :
    มาริษา เพ็ญสุต ภู่ภิญโญกุล. ฝุ่นจากการจราจร : กลไกการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพ. สืบค้น 18 พฤษภาคม 2562; ได้จาก URL: http://advisor.anamai.moph.go.th/download/Factsheet/FS_Vol4No6.pdf




    Follow Us











    © DUST INFORMATION. All Rights Reserved. Design by HTML Codex